1. กรณีผู้จัดอบรมไปพักรีสอร์ท โฮมสเตย์ในสถานที่ถิ่นทุรกันดารที่ไม่มีโรงแรม และได้รับเป็นบิลเงินสด หรือพักที่พัก
ของชาวบ้านในพื้นที่ที่เราไปจัดอบรมและไม่มีใบเสร็จรับเงิน จะใช้หลักฐานใดมาประกอบการขอเบิกเงินค่าที่พัก ?
ตอบ : การเบิกค่าที่พักตามระเบียบฝึกอบรมให้คำนึงถึงสถานที่ ที่มีผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์ด้านโรงแรมโดยตรง โดยต้องมี
ใบเสร็จรับเงิน และ Folio ประกอบการเบิกจ่าย แต่หากไม่มีและมีความจำเป็นต้องพัก เช่น โฮมสเตย์ การออกใบเสร็จรับเงินให้พิจารณา
ว่าบิลเงินสดดังกล่าว มีรายการที่เป็นสาระสำคัญ 5 ข้อครบหรือไม่ ได้แก่
ถ้ามีสาระสำคัญครบ 5 รายการข้างต้นครบถ้วน ถือเป็นหลักฐานใบเสร็จรับเงินได้ ถ้ามีรายการไม่ครบถ้วน หรือตามลักษณะไม่อาจ
เรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ทำใบรับรองการจ่ายเงิน (แบบ บก.111) และผู้รับเงินลงลายมือชื่อ
รับเงินในหลักฐานดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินต่อส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการ
เบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 45 – 48
2. ข้าราชการที่เกษียณอายุและอยู่ระหว่างรอคำสั่งเป็นผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จะเบิกเงินสวัสดิการ
ค่ารักษาพยาบาลอย่างไร?
ตอบ : การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลในระหว่างรอรับบำนาญ ข้าราชการที่เกษียณอายุและอยู่ระหว่างรอคำสั่งเป็นผู้รับ
เบี้ยหวัดบำนาญ หากข้าราชการหรือบุคคลในครอบครัว เจ็บป่วย และเข้ารักษาในสถานพยาบาลทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
ให้ข้าราชการหรือบุคคลในครอบครัวจ่ายเงินค่ารักษาดังกล่าวไปก่อน และเก็บใบเสร็จรับเงินไว้ เมื่อมีคำสั่งเป็นผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
(ได้รับใบแนบหนังสืออนุมัติสั่งจ่ายเบี้ยหวัดบำนาญ) สามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปยื่นเบิกเพื่อขอรับเงินได้ ณ ส่วนราชการ
ผู้เบิกบำนาญอนึ่ง ข้าราชการที่ยื่นขอรับบำเหน็จ หรือลูกจ้างประจำที่ยื่นขอรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จรายเดือน ไม่มีสิทธิเบิกเงิน
สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
3. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ เดิมไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเนื่องจากเป็นข้าราชการบรรจุใหม่ ต่อมามีคำสั่งย้าย
ให้ไปดำรงตำแหน่ง ณ สำนักงานต่างท้องที่ แต่อยู่ภายในจังหวัดเดียวกัน สามารถขอเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่?
ตอบ : มาตรา 7 แห่งพราะราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดว่า “ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้
เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูง
ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้นั้น
4.งบดำเนินงานคงเหลือจากการที่หน่วยงานได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดจนบรรลุวัตถุประสงค์
และครบเป้าหมายตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว หน่วยงานสามารถนำงบประมาณคงเหลือ
ไปจัดซื้อครุภัณฑ์ได้หรือไม่?
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากจัดซื้อครุภัณฑ์ เป็นงบลงทุน การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนด้านการบริหารงบประมาณ
มอบอำนาจเฉพาะกรณีงบดำเนินงานเหลือจ่ายจากการดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้รับจัดสรรตามแผนปฏิบัติงานแล้ว
เฉพาะรายการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้อำนาจหน่วยงานเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติงบประมาณเพื่อนำไปดำเนินงาน กิจกรรมหรือ
โครงการเพิ่มเติม โดยให้ถัวจ่ายกันได้ ภายใต้แผนงาน ผลผลิตหรือโครงการ และงบรายจ่ายเดียวกัน ตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขสำคัญ
ท้ายแผนปฏิบัติงาน ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้งบประมาณรายจ่าย
การโอนเงินจัดสรรหรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร พ.ศ. 2562 ข้อ 5 (2)
5.การจัดอบรมในรูปแบบ e-learning สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบการฝึกอบรมได้หรือไม่?
ตอบ : การจัดอบรมรูปแบบ e-(earning ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมได้ ซึ่ง e-learning เป็นการบันทึกวิดีโอการบรรยาย
ของวิทยากรและอัพโหลดผ่านสื่อออนไลน์ โดยผู้เรียนเข้าเรียนได้ทุกเวลา ซึ่งการจัดฝึกอบรมออนไลน์ วิทยากรต้องสามารถตอบโต้กับ
ผู้เข้ารับการอบรมได้หรือการสื่อสาร 2 ทาง
6. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมออนไลน์ เช่น ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน สามารถเบิกได้หรือไม่ และเบิกอย่างไร?
ตอบ : การประชุม VDO conference สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน เฉพาะผู้เข้าร่วมการประชุมใน
ห้องประชุมเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2565 กองคลัง กรมส่งเสริมสหกรณ์
Copyright © 2022 Finance Division of CPD
ภาพและวิดีโอจากเว็บไซต์ freepik.com , pixabay.com , flaticon.com , canva.com , pinterest.com , pngtree.com , pexels.com ,
icon-icons.com